เมืองบ้านเกิด พระราชินีสุทิดาฯ ต.บ้านพรุ ใจกลางหาดใหญ่

สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2521ณ ตำบลบ้านพรุ อำเภอหาดใหญ่ จังห...



สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2521ณ ตำบลบ้านพรุ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา มีพระนามเดิมว่า สุทิดา ติดใจ ครอบครัวของพระองค์เป็นชาวไทยเชื้อสายจีน พระราชบิดาชื่อ นายคำ ติดใจ และพระราชมารดาชื่อว่า คุณหญิงจั่งเฮียง ติดใจ


ทรงเข้าเรียนระดับมัธยมศึกษาที่โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัยสมบูรณ์กุลกันยา จากนั้นจึงทรงเข้าศึกษาหลักสูตรนิเทศศาสตรบัณฑิต ณ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จนจบการศึกษาเมื่อปี พ.ศ. 2543
ต่อมาทรงเข้าเป็นพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน บริษัท แจลเวย์ จำกัด เมื่อปี พ.ศ. 2543 – พ.ศ. 2546 และทรงเป็นพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) เมื่อปี พ.ศ. 2546 – พ.ศ. 2551


อำเภอหาดใหญ่ ก่อตั้งโดยใช้ชื่อนี้มานานกว่า 102 ปี ซึ่งเป็นตำบลที่มีความพิเศษมากๆ นั่นคือ ตำบลบ้านพรุ เป็นตำบลตำบลแห่งนี้ถือว่าเป็นพื้นที่มีความเจริญรองจากตัวเมืองหาดใหญ่ก็ว่าได้และได้รับการยกฐานะเป็นเทศบาลเมืองเป็นแรกๆ ของจังหวัดสงขลา

ประวัติตำบลบ้านพรุและเทศบาลเมืองบ้านพรุ เทศบาลเมืองบ้านพรุ ตั้งอยู่ในท้องที่ตำบลบ้านพรุ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา เดิมมีสภาพเป็นพรุ บ้านพรุนับได้ว่าเป็นชุมชนเก่าแก่แห่งหนึ่งซึ่งตั้งชุมชนอยู่ในแถบลุ่มน้ำคลองอู่ตะเภามาตั้งแต่สมัยโบราณ


แต่ไม่ได้มีการจดบันทึกไว้เป็นหลักฐานอย่างชัดเจนเพียงพอที่จะนำมาอ้างอิงทางวิชาการได้ เนื่องจากข้อมูลที่มีอยู่เป็นเพียงการบอกเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่สืบต่อ ๆ กันมาหลายชั่วอายุคน

และเท่าที่ค้นพบหลักฐานตามบันทึกของนายสงค์ รักษ์วงศ์ อดีตกำนันตำบลบ้านพรุ ระบุว่าชื่อของตำบลบ้านพรุนั้นมีที่มาจากภูมิประเทศอันเป็นที่ตั้ง ซึ่งเมื่อก่อนมีสภาพเป็น พรุ กระจายอยู่ทั่วไป ปัจจุบันพรุก็ยังหลงเหลืออยู่ เช่น พรุพลี พรุค้างคาว เป็นต้น


ตามบันทึกระบุว่าสมาชิกคนแรกที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานในบ้านพรุ คือ “ตางกเง็ก” ที่มีบ้านเดิมอยู่ที่ควนจง โดยเข้ามาบุกเบิกถางพงเพื่อสร้างบ้านเรือนเมื่อประมาณ 200 ปีก่อนเพราะพื้นที่ของบ้านพรุนั้นเหมาะสำหรับการทำการเกษตร ไม่ว่าจะเป็นการเพาะปลูก ทำไร่ ทำนา ทำสวน หรือการเลี้ยงสัตว์ ที่เหมาะกว่าควนจง ซึ่งเป็นที่ดอน


หลังจากตางกเง็กเข้ามาบุกเบิกระยะหนึ่ง ลูกหลานและเพื่อนบ้านแถบควนจง และใกล้เคียงย้ายถิ่นฐานเข้ามาปักหลักเพิ่มขึ้น จนกลายเป็นชุมชนขนาดใหญ่ และกลายเป็นหมู่บ้านและตำบลจนถึงปัจจุบันจากคำบอกเล่าต่อๆ กันมาบอกว่า เมื่อก่อนที่นี่ไม่มีกำนัน ไม่มีผู้ใหญ่บ้าน มีแต่ “หัวบ้าน” ต่อมาภายหลังจากที่มีการประกาศใช้กฎหมายปกครองท้องที่จึงได้มีการแต่งตั้งกำนัน ผู้ใหญ่บ้านขึ้น ซึ่งมี “นายบุญทอง ศรีสุวรรณโณ เป็นกำนันคนแรกของตำบลบ้านพรุ


ความเจริญของตำบลบ้านพรุ ที่มีมากขึ้นเรื่อยๆ ตามการขยายตัวของชุมชน พ.ศ.2508 กระทรวงมหาดไทย ได้ประกาศตั้งตำบลบ้านพรุบางส่วนเป็นสุขาภิบาลบ้านพรุ ครอบคลุมพื้นที่ หมู่ที่ 1 หมู่ที่ 3 และหมู่ที่ 4 มีเนื้อที่ 1.43 ตารางกิโลเมตร พ.ศ.2528 ได้ขยายเขตสุขาภิบาลบ้านพรุ ครอบคลุมอีก 4 หมู่บ้าน


คือหมู่ที่ 2 หมู่ที่ 5 หมู่ที่ 7 และหมู่ที่ 9 รวมพื้นที่ 12.15 ตารางกิโลเมตรสถานที่ที่สำคัญ ได้แก่ ตลาดน้ำบ้านพรุ , บ้านศิลปินแห่งชาติครูนครินทร์ ชาทอง , วันป่าแสงธรรม และอื่นๆอีกมากมาย


You Might Also Like

0 comments